วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

สุโขทัย ล้านนา (เชียงใหม่) มอญ พม่า ล้านช้าง (ลาว) เขมร และมลายูความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งถูกรวมเป็นอันเดียวกับอยุธยาตั้งแต่ ปี 2006 เป็นต้นมาโดยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองก่อตั้งอยุธยาก็ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่สุโขทัย โดยเข้ายึดเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นของสุโขทัยไว้ พระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งสุโขทัยได้ส่งเครื่องบรรณาการมาทูลขอคืนจึงคืนให้และเท่ากับว่า สุโขทัยได้ยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยาตั้งแต่นั้นมาก และสมัยพระอินทราชาได้ทูลขอธิดา พระมหาธรรมราชาที่ 2 ให้สมรสกับเจ้าสามพระยา (พระโอรส) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็น การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสองอาณาจักรด้วยความสัมพันธ์กับสุโขทัยสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปประทับที่พิษณุโลก สุโขทัยก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาโดยสิ้นเชิง ความสัมพันธ์กับล้านนา (เชียงใหม่) หลังจากที่ได้สุโขทัยไว้ในครอบครองแล้ว อยุธยาก็รุกต่อขึ้นเหนือหวังยึดครองล้านนา แต่ยกไปตีหลาย ครั้งไม่สำเร็จ ระยะหลังเกิดสงครามเพราะสุโขทัยไปยอมอ่อนน้อมต่อล้านนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ของ ล้านนา เพื่อหวังให้ล้านนาช่วยรบกับอยุธยา แต่ในที่สุดสมัยพระไชยราชาธิราชล้านนาก็ตกเป็นของอยุธยา ความสัมพันธ์กับมอญ อาณาจักรมอญส่วนใหญ่จะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่ากับอยุธยา ส่วนใหญ่พม่าจะยึดครองมากกว่าไทยเหตุผลของความสัมพันธ์ กับมอญเพราะอยุธยาต้องการครอบครองหัวเมืองชายฝั่งที่เป็นเมืองท่าเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เมือง ทวาย มะริด และตะนาวศรี เป็นต้นมอญเคยตกเป็นของไทยสมัยพระนเรศวร เท่านั้น นอกนั้น ตกเป็นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์กับพม่า ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าสมัยอยุธยาเป็นไปในรูปของสงครามโดยตลอดเพื่อแย่งชิงการปกครองเมือง ประเทศราช ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นไปเพื่อแย่งชิงเมืองท่าในเขต อ่าวเบงกอล ของมอญด้วยสาเหตุที่พม่ามีแผ่นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องขยายอาณาเขตออกมาทางมอญ และล้านนา ซึ่งมีพรมแดน ติดอยุธยา ดังนั้นมอญจึงเป็นรัฐกันชน เมื่อพม่าได้มอญกับล้านนาแล้วก็มักแผ่อำนาจมายังอยุธยาเสมอ ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) ล้านช้า เป็นมิตรที่แสนดีกับไทยสมัยอยุธยามาตลอดแม้เวลาเราติดศึกพม่าก็ส่งทัพมาช่วยรบมีความสัมพันธ์ ทางเครือญาติเช่นสมัยพระเจ้าอู่ทองได้พระราชทานพระแก้วฟ้า แก่พระเจ้าสามแสนไทย สมัยสมเด็จ พระจักรพรรดิก็ได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ความร่วมมือที่ดีต่อกัน คือพระธาตุศรีสองรักที่จังหวัดเลย และ พระราชทานธิดาพระนางเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาแต่ถูกพม่าชิงตัวไปก่อน ความสัมพันธ์กับเขมร เป็นไปในลักษณะการรับวัฒนธรรมประเพณี เช่นการปกครองรูปแบบสมมุติเทพ และวัฒนธรรมประเพณี ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย บางครั้งเขมรก็แยกเป็นอิสระหรือไปหันไปพึ่งญวณและมักมาโจมตี ไทยเวลาอยุธยามีศึกกับพม่าสมัยเจ้าสามพระยาของอยุธยาทรงยกทัพไปยึดพระนครของเขมร เขมรต้องย้าย เมืองหลวงไปอยู่ป่าสานและพนมเปญปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของเขมรกับไทยมีทั้งด้านการเมืองและศิลปวัฒนธรรมในด้านการเมือง ความสัมพันธ์กับมลายู จะเป็นไปในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพราะช่องแคบมะละกาเป็นทางผ่านที่จะไปสู่อินเดียและจีน อยุธยาจึงต้องการครอบครอง จึงขยายอำนาจทางทหารไปครอบครอง โดยปรากฏหลักฐานว่าอยุธยายกทัพ ไปโจมตีหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาได้ ส่วนหัวเมืองมลายูอื่นๆ ยังเป็นของอยุธยา จนถึงปี พ.ศ.2310 อยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 สรุป ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการขยายเขตแดนและเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า ดังนั้นจึงไม่พ้นการทำสงคราม โดยเฉพาะกับพม่าซึ่งเรามักเป็น ฝ่ายตั้งรับมากกว่าการยกทัพไปรุกราน อยุธยาต้องเสียกรุงแก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2112 สมัยพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์

การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา อยุธยาซึ่งดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และได้ถึงวาระสิ้นสุด อันเนื่องมาจากพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 อันมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่ คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุน วังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์ 2. ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ในสมัยอยุธยาตอนปลายกษัตริย์พม่าราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบองได้เข้ามารุกราดินแดนไทย อันเป็นสงครามต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2303 เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา จึงยกทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากเข้ายึดทวาย มะริด และตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพเข้ามาตีเมืองตามรายทางที่กองทัพผ่าน คือ เชียงใหม่ ลำพูน และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2309 พม่าก็ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่ จีน มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายัง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรก ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น อยุธยาค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเทศจีนมาก ความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบรัฐบรรณาการ อยุธยาต้องการตลาดสินค้าใหญ่อย่างจีน และไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าเพียงแต่ยอมอ่อนน้อมกับจีนซึ่ง จีนถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลใครมายอมอ่อนน้อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้ผลประโยชน์กลับบ้านมากกว่าที่อยุธยาส่งบรรณาการไปถวายเสียอีกสินค้าที่เราส่งไปจีนการที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้ คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีน ไปขายที่อยุธยา ด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทย ต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่น เครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีน ซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีใน พ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่าง เป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ อิเอยาสุ ใน พ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการ และในขณะเดียว กันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึง ส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159 , 2164 , 2166 , 2168 ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือ ทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมี ชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม แล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรับ จากญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง อิหร่าน ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกันลังกา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งทูตมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์ สรุป ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะการค้ากับ จีนทำให้อยุธยาได้ประโยชน์มากมายจากรูปแบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ ส่วนกับญี่ปุ่นก็เช่นกัน จนมีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา คือ ยามาดาได้รับพระราชทานยศเป็น(ออกญาเสนาภิมุข

บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา

บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา

บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา การที่ประเทศไทยของเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจในสังคมโลกปัจจุบันนี้ได้นั้น ก็เพราะว่าแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาเราคนไทยมีบรรพบุรุษที่มีความกล้าหาญเสียสละในการปกป้องและ สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมมาโดยตลอด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างของพระมหากษัตริย์และประชาชน สมัยอยุธยาที่ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง อันสมควรที่เยาวชนคนไทยทั้งหลายจะยกย่องสรรเสริญ และยึดถือเป็นแบบอย่าง อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2148) สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระอัจฉริยะบุคคลอย่างเต็มภาคภูมิ ในยุคสมัยของพระองค์ ทรงเป็นนักการทหารที่มีพระปรีชาสามารถสูงเยี่ยม จนเป็นที่เล่าขานของคนร่วมสมัยทั่วไป พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญปัญหา ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ทรงเป็นแบบฉบับของนักการปกครอง ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินไทย โดยคำนึงถึงความสุขสบาย ส่วนพระองค์เลย จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ พระราชประวัติ พระนเรศวรทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิ์กษัตรี ประสูติที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2098 ทรงมีพระพี่นางหนึ่งองค์และพระอนุชาผู้ซึ่งครองราชย์ สมบัติต่อมาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระนเรศวรถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพะโค(หงสาวดี) เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา ในคราวที่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและยึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้และต่อมาก็ตีกรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาธรรมราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยได้รับการ สถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีตำแหน่งในฐานะอุปราชหรือวังหน้า เมื่อพระราชบิดาเสด็จ สวรรคต พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองฉาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ พ.ศ. 2148 พระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา พระอนุชาคือพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมาพระเกียรติคุณ สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองดังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 พระเกียรติคุณ สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 ด้านการปกครอง เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระนเรศวรได้เริ่มขยายอำนาจไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น ล้านช้าง เชียงใหม่ ลำปางและกัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการศึกสงครามหลายครั้ง รวมทั้งความพยายามฟื้นฟูอยุธยาหลังจากที่ถูก ปกครองโดยพม่า ทำให้พระองค์ทรงดำเนินนโยบายการปกครองที่เน้นระเบียบวินัยเข้มงวด นอกจากนี้ ทรงดำเนินนโยบายการปกครองแบบดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยส่งขุนนางออกไปปกครองเมือง สำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย การขยายแสนยานุภาพทางการทหาร สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำศึกสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมืองตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ และเกือบตลอดรัชสมัยที่ทรงครองราชย์ ทั้งการสงครามกับพม่าและเขมรที่ยกกองทัพเข้ามารุกราน หัวเมืองของอาณาจักรอยุธยา ดังที่ชาวต่างชาติชาวฮอลันดาที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาได้พรรณนา เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจ เป็น "วีรบุรุษนักรบ" ทรงรบชนะข้าศึก หลายครั้งและในหลายดินแดน การขยายอำนาจทางการทหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้เขตแดนอาณาจักรอยุธยา แผ่ขยายออกไปกว้างไกลที่สุดนับแต่สถาปนาอาณาจักรขึ้นมา ครอบคลุมทั้งเขตแดนมอญ พม่า ล้านนา ไทยใหญ่ ล้านช้างและเขมร พระองค์ทรงอุทิศเวลาตลอดรัชสมัยในการทำสงครามเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กับอยุธยา จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ เหตุการณ์สงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 กองทัพพม่าโดยพระมหาอุปราชาพระโอรสของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เป็นแม่ทัพ คุมไพร่พลจำนวน 240,000 คน มาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพออกไป รับศึกที่บ้านหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นที่เลื่องลือในการสู้รบระหว่างสองอาณาจักร นั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ที่บ้านหนองสาหร่าย สุพรรณบุรี และทรงใช้พระแสงของ้าวฟัน์ พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปและหลังจากสงครามครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาว่างเว้นการสงครามกับพม่าเป็นเวลานานมากกว่า 150 ปี ด้านการต่างประเทศ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศทั้งด้านการฑูต และการค้า พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการค้านานาชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการค้าทางทะเลเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอยุธยาซึ่งได้รับความเสียหายจากสงคราม การฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยา ประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ชาวต่างชาติที่เข้ามาในรัชสมัยนี้ คือ ชาวดัตซ์หรือฮอลันดา พระองค์ทรงโปรด ฯ ให้ฮอลันดาเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่อยุธยาและเมืองอื่น ๆ เช่น ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชประวัติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย พระองค์จึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา พระราชกรณียกิจที่สำคัญ 1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง พ.ศ. ๑๙๙๔ พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่ายทหาร สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์ นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินาได้แก่ พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง พ.ศ. ๑๙๙๘ เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร เป็นการจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิม ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐) ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้านนา ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031 ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์

19-สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอ

สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม
     หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475   มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในเรื่องการแต่งกาย ผู้ชายเริ่มแต่งกายแบบสากล คือสวมเสื้อนอกกระดุมห้าเม็ด กางเกงขายาวแบบสากล   รองเท้าหุ้มส้นและสวมถุงเท้า ยกเลิกการนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน

นโยบายสร้างชาติทางวัฒนธรรมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
     ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยหลายประการ คือ
           1. การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” ในปี พ.ศ.2482
           2. ใช้คำว่า “ไทย” กับคนไทย และสัญชาติไทย
           3. กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มในปีพ.ศ.2482
           4. เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ให้มีคำว่า สยาม
           5. ให้ยืนตรงเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ ในเวลา 08.00 น. เชิญธงชาติขึ้น และเวลา 18.00 น. ชักธงชาติลง
           6. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก “1 เมษายน” เป็น “1 มกราคม” ตามแบบสากล เริ่ม พ.ศ.2484
           7. การแต่งกาย
                        ข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบ
                        ราษฎรทั่วไป                              ผู้ชาย ให้สวมเสื้อนอกคอเปิดหรือปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีกสวมถุงเท้า รองเท้า                             ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน
                การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชาย ใช้เสื้อขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำ สวมปลอกแขนสีดำ ที่แขนเสื้อด้านซ้าย สวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิง ให้แต่งชุดดำล้วน
           8. การกินอาหาร ให้ใช้ช้อนส้อมแทนการใช้มือเปิบ
           9. ห้ามกินหมากโดยเด็ดขาด
         10. ประกาศงดใช้พยัญชนะ 13 ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฒ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว
                        ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา ใ แต่ในสมัย นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็นำกลับมาใช้ใหม่
         11. ให้ใช้คำว่า “ฉัน” , “เรา” , “เขา” , “ท่าน” , “มัน” ใช้คำรับและปฏิเสธว่า “จ้ะ” , “ค่ะ” , “ครับ” , “ไม่”
         12. ให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโอกาสที่พบกัน
         13. ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อและนามสกุลแทน
         14. การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศและมีความยาวไม่เกิน 3 พยางค์
         15. ตั้งกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม ภายหลังถูกยุบรวมกับกระทรวงศึกษาธิการ
การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี (พ.ศ.2501-2506)สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
          1. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพิธีเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ มีการตกแต่งโคมไฟและประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ บ้านเรือน ห้างร้าน เพื่อถวายพระเกียรติ
          2. ประกาศยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ และกำหนดวันชาติใหม่ คือ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          3. ฟื้นฟูพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
          4. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
          5. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
การฟื้นฟูพระราชพิธีที่สำคัญ สมัยจอมพลถนอม  กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
          1. ฟื้นฟูพระราชพิธีรัชดาภิเษก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 25 ปี ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยกระทำมาแล้ว
          2. ฟื้นฟูพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ในปีพ.ศ.2515 โดยคณะรัฐบาลได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ ทรงพระกรุณาสถาปนาเฉลิมพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตามโบราณขัตติยราชประเพณี
การศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง          1. รัชกาลที่ 7 เห็นความสำคัญของการศึกษาโดยไม่ตัดทอนรายจ่ายด้านการศึกษาเลย ถึงแม้จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักก็ตาม
          2. หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ก็มีการกำหนดการพัฒนาการศึกษา โดยริเริ่ม วางแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
          3. ในปี พ.ศ.2477 จัดตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของไทย ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7
          4. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก 4 ปี เป็น 7 ปี
          5. ในปี พ.ศ.2520 ลดการศึกษาภาคบังคับ จาก 7 ปี เหลือ 6 ปี (ป.1-ป.6) และเพิ่มระดับมัธยมศึกษาจาก 5 ปี เป็น 6 ปี (ม.1-ม.6)
          6. ปัจจุบันปีพ.ศ.2546 การศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก 6 ปี เป็น 9 ปี (จบม.3)
          7. ในปีพ.ศ.2514 รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          8. ในปีพ.ศ.2521รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่ 2 คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
          9. ส่งเสริมให้เอกชนจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีจำนวนมากหลายแห่ง เช่น ในภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยพายัพ ที่จังหวัดเชียงใหม่
        10. มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นล่าสุดในภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงรายคือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

18-สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง
การปรับปรุงทางด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
     ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ     ชาวตะวันตก

     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4

  • อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ
  • ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้
  • ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส
  • ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
  • ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา
  • โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสำนัก
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4     1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
     2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ

     3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
     4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ
ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง
     5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา
     6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ
     7. กำหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4
ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
     8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4
     
ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชั

16-ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอ

16-ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การสร้างและพัฒนาชาติด้านเศรษฐกิจ 
     ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏในหลัก 6 ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้    หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า
1.รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมของราษฎรทั้งหมดโดยจ่ายเงินเป็นพันธบัตรรัฐบาล
2.รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบสหกรณ์
3.บุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปีจะเป็นข้าราชการทำงานให้รัฐตามความสามารถและ
 คุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่กำหนดซึ่ง                 
 เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปรวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิสต์จึงล้มเลิกไปในที่สุด

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มก่อตัวช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะใช้เงินในการปรับปรุง
   หน่วยราชการและบำรุงศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก      และมีรายรับลดลงเพราะเกิดปัญหาขัดแย้งในยุโรปจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
2.สมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเพราะสินค้าไทยขายไม่ได้ เพราะต่างชาติไม่มี
   การสั่งซื้อ
3.สมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งกระทบถึง
   ประเทศไทยด้วย

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7
1.ยุบเลิกหน่วยราชการ
2.ปลดข้าราชการออกบางส่วน
3.ยอมลดรายจ่ายประจำปีของพระองค์ จาก 9 ล้าน เหลือ 6 ล้าน และ 3 ล้านบาทในที่สุดแต่
   ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญการทางเศรษฐกิจและไม่มี
    แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
 
“ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรอ้างเป็นสาเหตุในการปฏิวัติเมื่อปีพ.ศ.2475”

เศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ.2475 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น
                   สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ( ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย  สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย
1.กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน
2.โฆษณาคำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยและตื่นตัวในเรื่องชาตินิยม 3.เริ่มใช้นโยบาย รัฐวิสาหกิจ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนมากมาย
4.สงวนอาชีพบางอย่างให้คนไทย เช่น ตัดผม
5.ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และตั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
เศรษฐกิจไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนักเพราะ
1.การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้ขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค น้ำมัน และสินค้า
   ไทยขายไม่ได้
2.ญี่ปุ่นบังคับให้ไทยขายสินค้าให้ในราคาถูก ลดค่าเงินบาท 1 บาทเท่ากับ 1 เยน
   ญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยเอง นำมาใช้ในประเทศไทย ทำให้ไทยเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง 3.ไทยเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ในเขตที่ราบภาคกลางทั้งหมด
เศรษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
-ไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
-รัฐบาลแก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ (วางแผนไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยกู้เงินจากธนาคารโลกในปี พ.ศ.2493 นำมาสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2500 สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง 
-ในปีพ.ศ.2504 กู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อนำมาสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก       สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2507 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคกลางและภาคเหนือรวม 36 จังหวัดและส่งน้ำไปใช้ในการเกษตร


เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์-ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งแรกในปีพ.ศ.2504   เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ช่วงแรก มุ่งเน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
 ได้แก่ ทางหลวง ไฟฟ้า การชลประทาน การสื่อสาร โทรคมนาคม
-ส่งเสริมการผลิตพืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปอ อ้อย ฯลฯ
-เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ
  ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ
-มีอุตสาหกรรมเกิดใหม่หลายอย่าง เช่น สิ่งทอ ผลไม้กระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า
  การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ห้องเย็น
-มีนโยบายลดการลงทุนด้านรัฐวิสาหกิจ โดยขายให้เอกชนดำเนินการเพราะรัฐทำแล้ว
  ขาดทุนเนื่องมาจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ปัจจุบันเหลือเพียง   1.ไฟฟ้า  2.ประปา  3.โทรศัพท์  4.รถเมล์(ในกรุงเทพฯ)  5.รถไฟ  6.การบิน  7.ยาสูบ  8.สลากกินแบ่ง -ส่งเสริมให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย   โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทุกอย่าง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี   มีต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากมาย เช่น ญี่ปุ่น  ฮ่องกง  ไต้หวัน  ยุโรป  อเมริกา 

เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-หลังจากใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ 15 ปี (ฉบับที่ 1-3) ความเจริญกระจุกอยู่ที่
  ส่วนกลาง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าสู่เมือง     ทำให้เกิดปัญหาประชากรหนาแน่น   แหล่ง เสื่อมโทรม   ในกรุงเทพ  ทำให้เกิดปัญหามากมาย   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ   ฉบับที่ 4-5   จึงเน้นการกระจายรายได้ออกสู่ชนบท     โดยขยาย               อุตสาหกรรมและโครงการใหญ่ๆ สู่ภูมิภาค
-หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ประมาณ 20 ปี มูลค่าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าตัว   สินค้าใหม่ๆ ที่ทำรายได้สูง ได้แก่ สิ่งทอ อัญมณี  แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง   และรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก ทำรายได้สูง-
-ในปี พ.ศ.2524 ไทยมีการขุดพบหลุมก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์   ได้มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) โดยส่งเสริม
-โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์   มุ่งเน้นให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก กำหนดให้ เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น   โรงงานแยกก๊าซ ปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี กำหนดให้แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรม      ขนาดกลางและย่อม เพื่อการส่งออก และมีหลายโครงการดำเนินเสร็จแล้วและมี     โรงงาน   อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย
-หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ปีพ.ศ.2531 (ไต้ฝุ่นเกย์) พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ   ให้ความเห็นชอบให้มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) เพื่อพัฒนาทรัพยากร เช่น   ยางพารา กาแฟ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ดีบุก   ก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ ประมง   การขนส่งเชื่อม     ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย   การบริหารประเทศในยุคต่อๆมาจนถึงปัจจุบันต่างก็ยึดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก จนถึงปัจจุบัน   มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)
-เศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เกิดขึ้นสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ   เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นลักษณะที่ดูเหมือนเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว แต่ไทยก็เป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก   ประชาชนใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย 
ผลเสียหายร้ายแรงของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่
1.ค่าของเงินบาทเริ่มตกต่ำ แต่รัฐก็พยายามรักษาค่าเงินบาทสูงกว่าความเป็นจริง
2.สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ เงินคงคลังที่เคยมีสูงถึง 4    หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐร่อยหรอลงเพราะรัฐบาลนำไปพยุงค่าของเงินบาท จนเหลือเพียง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ    จนทำให้ต่างประเทศไม่มั่นใจเศรษฐกิจไทย มีการถอนการลงทุน ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก    โรงงานอุตสาหกรรมปิดกิจการหลายแห่ง ประชาชนตกงาน เกิดภาวะ     เงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆจนรัฐบาลต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ    (IMF) โดยขอกู้เงินมาช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เรียกว่า “เศรษฐกิจยุค IMF” ประชาชนเรียกร้องให้
    พลเอกเชาวลิต    ยงใจยุทธ ลาออก
3.หลังจากพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก นายชวน  หลีกภัย  เข้ามารับหน้าที่แทน
   สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ไทยก็ยังเป็นหนี้ IMF และใช้หนี้ 
   ต่อไปในปีพ.ศ.2542    เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย
4.ยุคของรัฐบาลที่นำโดย พรรคไทยรักไทย มีนายกรัฐมนตรี คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ    ในหลายด้าน จนภาวะเศรษฐกิจไทยดีขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก    และที่สำคัญชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น เพราะรัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของคนจน    และสามารถใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2546    ซึ่งถือเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลชุดนี้